ขอเชิญสมัครแข่งขันหมากล้อม โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม
ขอเชิญผู้ที่มีคุณสมบัติสมัครเข้าร่วมการแข่งขันหมากล้อม ของ โรงเรียน อัสสัมชัญ แผนกประถม (สาทร 11) ในวันที่ 27 มกราคม 2568
การแข่งขัน
เป็นการจัดการแข่งขัน ในระดับนักเรียนช่วง ประถมศึกษา โดยรวมทั้งช่วง ระดับประถมศึกษา ตอนต้น และ ตอนปลาย
กติกาการแข่งขัน
ใช้กติกาการแข่งขัน ที่แปลมาจากกติกาการเล่นหมากล้อมของ สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น Nihon Kiin
กติกามีดังนี้ คือ
- เป็นการเล่นบนกระดาน ซี่งมีหลายขนาด ได้แก่ 9×9, 13×13, 19×19, … มีเป้าหมายการเล่นเพื่อครอบครอง หรือแย่งชิงพื้นที่
- มีผู้เล่น 2 ฝ่าย โดยถือหมากสีขาว และสีดำ ผลักการวางหมากฝ่ายละหมาก
- ให้วางหมากที่จุดตัดของเส้นบนกระดาน เมื่อวางแล้วจะไม่เคลื่อนที่ (ยกเว้นถูกเก็บขึ้น)
- สามารถวางหมากที่จุดว่าง และเมื่อสิ้นสุดการวางหมากนั้นต้องมีจุดว่างติดกับหมากนั้น (มีลมหายใจ)
- เมื่อหมากถูกฝ่ายตรงข้ามล้อมจนไม่มีลมหายใจ ให้เก็บหมากเหล่านั้นขึ้นเป็นหมากเชลย
- เมื่อถูกฝ่ายตรงข้ามเก็บหมากขึ้น ไม่สามารถวางหมากเพื่อเก็บหมากฝ่ายตรงข้าม ที่ทำให้สภาพของหมากกลับไปเหมือนเดิม ต้องไปวางหมากที่อื่นหนึ่งหมากก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ การเล่นวนกลับไปกลับมาไม่สิ้นสุด เรียกว่า โคะ
- กลุ่มหมากที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเก็บขึ้นได้ เรียกว่า หมากที่มีชีวิต ส่วนหมากอื่นให้ เรียกว่าหมากที่ตาย
- พื้นที่ ให้นับจุดที่ หมากที่มีชีวิต ล้อมอยู่ จุดที่ไม่มีฝ่ายใดล้อมให้เรียก ดาเมะ ไม่คิดพื้นที่ให้ฝ่ายใด รูปที่ล้อม แต่ไม่มีฝ่ายใดสามารถเล่นให้เก็บหมากอีกฝ่ายได้ เรียก เซกิ ไม่คิดพื้นที่ให้ฝ่ายใด
- เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะเล่นต่อ และอีกฝ่ายก็ไม่ประสงค์ จะเล่นต่อด้วย ให้ถือว่าเกมจบลง แต่ถ้าพบว่ายังมี โคะ ให้กลับมาเล่นต่อ เมื่อไม่มีโคะแล้ว แล้วให้ทั้งสองฝ่ายสรุป หมากที่มีชีวิต และ หมากที่ตาย
- การนับแต้ม จะคิดจากพื้นที่ที่ หมากที่มีชีวิต ล้อมอยู่หักด้วยหมากที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเก็บขึ้น และอาจมีแต้มคืนให้หมากขาว เนื่องจากหมากสีดำได้เปรียบจากการเล่นก่อน
- ในระหว่างการเล่น ฝ่ายหนึ่งสามารถประกาศยอมแพ้ได้
- ทั้งสองฝ่ายสามารถหยุดการเล่นได้ แต่จะไม่มีผลแพ้ชนะ
- การแพ้ทั้งคู่ เมื่อจบการเล่นตามข้อ 9 แต่มีปัญหาที่ทำให้ผลแพ้ชนะเปลี่ยนแปลงได้ ให้ตัดสินแพ้ทั้งคู่ ส่วนในกรณีที่มีเหตุทำให้หมากเคลื่อนที่จากตำแหน่ง ให้วางหมากกลับที่เดิม หากไม่สามารถทำได้ ให้ แพ้ทั้งคู่
- ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถ้าระเมิดกติกาข้างต้น ให้ปรับแพ้ทันที
ระเบียบการแข่งขัน
เนื่องจากเป็นการแข่งขันในระดับ ประถมศึกษา และส่วนใหญ่เป็นผู้เล่นที่เริ่มเรียน จึงจะยกเว้นกติกาที่เข้มงวดบางข้อ
ในการแข่งขัน ให้เพิ่ม หรือปรับปรุงกติกา ให้เหมาะกับการแข่งขัน แต่ละครั้ง ในการแข่งขันนี้ให้มีระเบียบ ดังนี้ คือ
- ให้ผู้แข่งขันทุกคน เล่นอย่างมีน้ำใจนักกีฬา และมีมรรยาทในการเล่นหมากล้อม
- ให้ครูผู้สอน สามารถ อยู่ในบริเวณแข่งขัน เพื่อช่วยดูให้การแข่งขัน เป็นไปกติกา และระเบียบที่กำหนดไว้
- ให้ยกเว้นกติกาข้อ 13 กรณีที่จบเกมตามกติกาข้อ 9 แต่มีปัญหา ให้ครูผู้สอนของผู้แข่งขันทั้งสองฝ่าย ตกลงกันว่า จะวางหมากสีใด ณ จุดใด เพื่อให้ เกมได้จบลงตากติกาข้อ 9 หากตกลงกันไม่ได้ ให้กรรมการเป็นผู้กำหนด และให้กรรมการทำบันทึก ชี้แจงบน Online ถึงปัญหา และการแก้ไข ส่วนในกรณีหมากเคลื่อน ให้กรรมการนำบันทึกถ่ายทอดสด มาพิจารณา และเรียงตามที่สามารถเรียงได้ แล้วจึงให้ทั้งสองฝ่ายเล่นต่อไปได้
- ในกรณี ที่มีครูผู้สอน หรือเพื่อนร่วมทีม หรือบุคคลอื่น พูดหรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้เล่น หรือไม่เล่น ในตำแหน่งใดๆ ให้กรรมการปรับฝ่ายนั้น แพ้ทันที
- กรณีเกิดการประท้วง ให้กรรมการตัดสิน ตามกติกา และระเบียบอย่างยุติธรรม หากผู้ประท้วงยังไม่เห็นด้วย ให้หัวหน้ากรรมการเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งถือเป็นสิ้นสุด แต่ให้กรรมการสรุปเหตุการณ์ ข้อการประท้วง คำตัดสิน และข้อพิารณาทั้งหมด เผยแพร่บน Online เมื่อสิ้นสุดรายการแข่งขัน
- ห้ามไล่ครูผู้สอนออกจากบริเวณ การแข่งขัน เนื่องจากผู้เล่นเป็นเด็กเล็ก จะไม่สะดวกในการประท้วงเอง แต่ในกรณีบุคคลอื่น นอกจากครูผู้สอน หากรบกวนการแข่งขัน ให้เชิญออกจากบริเวณการแข่งขัน
- ในกรณีที่มีนาฬิกา เมื่อประกาศให้เริ่มการแข่งขัน ให้ผู้ถือหมากฝ่ายขาวกดให้นาฬิกาเป็นของฝ่ายดำ
- ในการประท้วงใดๆ ให้ผู้เล่นหยุดนาฬิกาได้ หากเกิดปัญหาจากนาฬิกา ให้กรรมการสามารถทดเวลาได้ตามที่เหมาะสม
- ให้การประท้วงในการแข่งขันรอบนั้นๆ สิ้นสุดลงเมื่อประกาศผลการจับคู่แข่งขันในรอบถัดไป
- ให้ผู้แข่งขันนั่งตามโต๊ะ และสี ตามที่ประกาศผลการจับคู่
- การนับคะแนน ให้กรรมการ หรือผู้ที่กรรมการมอบหมายให้ เป็นผู้นับคะแนนเท่านั้น
- การประกาศผล จะประกาศตามสีหมากที่แพ้ ชนะ หากมีปัญหาจากการไม่นั่งตามสีที่กำหนด จะไม่สามารถให้เปลี่ยผลแพ้ชนะได้
- การแจกรางวัล จะเป็นไปตามลำดับจากโปรแกรม MacMahon และตามที่ผู้จัดการการแข่งขันกำหนด
- หากมีการแข่งขันเสร็จเร็วกว่าที่กำหนด ในแต่ละรอบ อาจมีการเลื่อนเวลาการแข่งขัน เพื่อให้ทดเวลาหากในรอบถัดไปมีการล่าช้า และอาจทำให้การแข่งขันทั้งหมดเสร็จเร็วกว่าที่กำหนดก็ได้
การจับคู่แข่งขัน ใช้โปรแกรม MacMahon
- โดยยึดจำนวนรอบการแข่งขันตามที่กำหนดไว้ก่อนการแข่งขัน
- การจับคู่ จะพยายามให้ผู้แข่งขันไม่ได้ถือหมากสีเดิมติดกันเกิน 2 รอบ
- โปรแกรมจะกำหนดคู่แข่งขันแต่ละรอบโดยกำหนด ลำดับของคู่ที่แข่ง และสีหมากให้แข่งขันตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
- การนับแต้ม และตัดสินแพ้ชนะของแต่ละคู่ แต่ละรอบ จะดำเนินการตามสีหมาก
กลุ่มของการแข่งขัน
จะจัดให้มีการแข่งขัน แบ่ง
กลุ่มที่ | กระดานขนาด | รอบ | คน | เวลาหลัก(นาที) | เวลาเพิ่ม(วินาที/ครั้ง) |
1 | 9×9 | 5 | 70 | 15 | – |
2 | 19×19 | 4 | 50 | 20 | – |
รางวัล
จะให้รางวัลเหรียญรางวัล กระดาน 9×9
– โดยจะให้ผู้ที่ ชนะ 5 กระดาน เหรียญทอง ชนะ 4 กระดาน เหรียญเงิน ชนะ 2-3 กระดาน เหรียญทองแดง
จะให้รางวัลกระดาน 19×19
– โดยจะให้ผู้ที่ ชนะ 4 กระดาน เหรียญทอง ชนะ 3 กระดาน เหรียญเงิน ชนะ 2 กระดาน เหรียญทองแดง
การสมัครเข้าร่วมแข่งขัน
จะต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Online ใช้โปรแกรม Google Form
โดยกำหนดวันเริ่มรับสมัคร และวันสิ้นสุดการรับสมัคร
ข้อมูลที่มีในการสมัคร คือ
- ชื่อ นามสกุล
- ระดับชั้น
- รุ่นที่สมัคร
- สถานศึกษา
- เบอร์โทรติดต่อ
ติดต่อสอบถามได้ที่ ครูเหมยลี่ 095-1416532, ครูเสือ 062-7067276
สมัครคลิกที่นี่
เข้ากลุ่ม Line
กำหนดการแข่งขัน ACP GO CHAMPIONSHIP 2025
วันที่27 มกราคม 2568
รุ่น กระดานเล็ก 9×9
08.30 –09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 กระดานที่ 1
09.30 – 10.00 กระดานที่ 2
10.00 – 10.30 กระดานที่ 3
10.30 – 11.00 กระดานที่ 4
11.00 – 11.30 กระดานที่ 5
พักกลางวัน
13.00 – 14.00 น. รับรางวัล
รุ่น กระดานใหญ่ 19×19
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.40 กระดานที่ 1
09.40 – 10.20 กระดานที่ 2
10.20 – 11.00 กระดานที่ 3
11.00 – 11.40 กระดานที่ 4
พักกลางวัน
13.00 – 14.00 รับรางวัล