ปิดฉากหมากล้อมชิงแชมป์มิกุ คัพ 2017 (MIKU GO CUP CHAMPIONSHIP 2017)
สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท มังคิ คิง ฟูด จำกัด ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเมล็ดธัญพืชพร้อมรับประทานเพื่อสุขภาพ, สถาบันหมากล้อมและศิลปะจินโป๋ และซีพี ออลล์ เปิดการแข่งขันกีฬาหมากล้อมชิงแชมป์ มิกุ คัพ 2017 (MIKU GO CUP CHAMPIONSHIP 2017) โดยในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ สามารถได้บทสรุปของการชิงชัยในการแข่งขันรายการนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดย 8 นักหมากล้อมไทย เฉือนชนะทีมนักหมากล้อมจากจีน คว้าถ้วยแชมป์มิกุ คัพ 2017 ไปครอง
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว เลขาธิการสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทยและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันกีฬาหมากล้อมชิงแชมป์ มิกุ คัพ ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท มังคิ คิง ฟูด จำกัด จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีเวที ประลองฝีมือเพื่อช่วยพัฒนาและเพิ่มทักษะการเล่นให้กับนักหมากล้อมไทยให้มีศักภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้มีความแตกต่างและหลากหลายด้วยคุณสมบัติของนักหมากล้อมที่มีทุกเพศทุกวัยหลากหลายอาชีพเข้าร่วมแข่งขันรวมกว่า 80 คน โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มแยกตามชื่อของเมล็ดธัญพืชและผลไม้ 8 ชนิด เพื่อหาแชมป์ 8 คนจาก 8 กลุ่ม ซึ่งแชมป์ของแต่ละกลุ่มนี้จะได้ เป็นตัวแทนนักหมากล้อมไทยเพื่อไปแข่งขันกับ 8 ตัวแทนนักหมากล้อมที่ได้รับเชิญจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในรอบชิงแชมป์เพื่อคว้าเงินรางวัลและถ้วยมิกุ คัพ 2017
สำหรับรางวัลชนะเลิศประเภทกลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มข้าวบาเล่ย์ คือ กลุ่มเปิดที่ไม่จำกัดอายุและระดับฝีมือ ได้แก่ นายธนพล เตียวัฒนานนท์
2.กลุ่มข้าวเหนียวดำ คือ กลุ่มของนักหมากล้อมที่มาจากต่างจังหวัด ได้แก่ นายไพศาล ธัญธาดาลักษณ์
3.กลุ่มมะพร้าว คือ กลุ่มนักหมากล้อมหญิง ได้แก่ ด.ญ.ภิญญาดา ศรอารา
4.กลุ่มถั่วเขียว คือ กลุ่มเยาวชนหมากล้อมที่มีอายุ 8-12 ปี ได้แก่ ด.ช.พงศกานต์ ศรอารา
5.กลุ่มถั่วแดง คือ กลุ่มเยาวชนหมากล้อมที่มีอายุ ระหว่าง 13-17 ปี ได้แก่ นายภูริพัฒน์ สันติสิริกุล
6.กลุ่มข้าวโพด คือ กลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี ได้แก่ นายณัฐวัชร์ พ่อค้า
7.กลุ่มถั่วลิสง คือ กลุ่มนักหมากล้อมตัวแทนบริษัทต่างๆได้แก่ นายดุษฎี นราวีรวุฒิ
8.กลุ่มเม็ดบัว คือ กลุ่มจากตัวแทนสถาบันหมากล้อม ได้แก่ นายวรวัฒน์ ธนพัฒน์โสภณ
สำหรับการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันระหว่าง 8 ตัวแทนนักหมากล้อมจากประเทศไทย และ “ทีมมิกุฮี้เค้อ” 8 ตัวแทนนักหมากล้อมจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย เก๋อ ฝาน ฟาน (ผู้นำทีม), เซี่ยหยูว, จาง ต้า เซิน, ซี จั๋ว เย่ว, หวาง ฮ่าว เทียน, เสิน เจิ่น เสียง, กวน เทา, หวาง เหยา และ หวาง เฉิน ซี
ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมนักกีฬาไทยอยู่ในตำแหน่งเดิ นหมากดำ และทีมจีนเดินหมากขาว โดยในช่วงเริ่มเกมส์เป็นไปอย่างสูสี ทางจีนเริ่มเดินหมากเพื่อชิงพื้นที่บนกระดาน แต่มีช่องว่างบนกระดานทำให้ ไทยสามารถบุกเข้ายึดพื้นที่ได้ง่าย เข้าสู่ช่วงท้ายเกมส์ทีมนักกีฬาไทยสามารถทำคะแนนนำเกิน 10 แต้ม ทำให้ทีมจีนชิงพื้นที่กลับคื นไม่ทัน ซึ่งใกล้หมดเวลา 60 นาที ทีมจีนจึงยอมแพ้โดยไม่มีการต่อเวลาพิเศษ
ด้านนายธนพล เตียวัฒนานนท์ หนึ่งในตัวแทนทีมนักหมากล้อมไทย เผยว่า ในทีมมีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี ซึ่งการแข่งต้องทำสมาธิให้นิ่ง ความสำเร็จของเกมส์ในครั้งนี้ เกิดจากสิ่งสำคัญหลักๆ คือ ในช่วงเปิดเกมส์คู่แข่งเดินพลาดทำให้เราได้เปรียบ ระหว่างการแข่งขันทุกคนรวมกันเป็นทีมและมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ เพราะทุกคนต้องผลัดกันวางหมากคนละ 20 เม็ด ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ต้องอาศัยความสามัคคีของทีมส่งผลให้ ชนะคู่แข่งในที่สุด
“ในนามสมาคมกีฬาหมากล้อมฯ ขอขอบคุณ บริษัท มังคิ คิง ฟูด จำกัด และ สถาบันหมากล้อมและศิลปะจินโป๋ ที่ช่วยทำให้การแข่งขันครั้งนี้ ประสบสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแข่งขันกีฬาหมากล้อมชิงแชมป์มิกุ 2017 นี้ จะเป็นเวทีที่ทำให้นักกี ฬาหมากล้อมได้พัฒนาฝีมือ ทักษะ กลวีธีในการเล่น และสิ่งสำคัญคือประสบการณ์ที่ดี ที่นักกีฬาจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาหมากล้อมนี้เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการศึ กษา พัฒนาเยาวชนของซีพี ออลล์ ที่ดำเนินมาตลอด 20 ปีและจะยังคงให้การส่งเสริมสนั บสนุนอย่างต่อเนื่องต่อไป” นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย
เกร็ดความรู้
ในการแข่งขันในประเภททีมนั้น สมาชิกภายในทีมจะมีโอกาสในการเดินหมากได้คนละ 20 เม็ด โดยการสลับสับเปลี่ยนตัวกันมาเดินหมากทีละ 1 คน ส่วนสมาชิกในทีมที่เหลือสามารถปรึกษาและวางแผนกันได้ และเมื่อวางแผนกันเสร็จเรียบร้อยสามารถเปลี่ยนตัวคนเดินหมากได้ และเมื่อเกมการแข่งขันเดินทางมาถึงหมากตาที่ 160 จะไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เข้าแข่งขันได้อีกจนจบเกม