คุณค่าของหมากเป็นหมากตายจากยอดฝีมือ

ข้อคิดของตำนานวงการจาก 3 ประเทศมหาอำนาจหมากล้อม

คุณค่า 3 ประการของหมากล้อม

ปราชญ์ “เม้งจื้อ”ได้กล่าวไว้ว่า

“ความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นหลักของ หลี่

ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นหลักของ จื้อ

ความรู้สึกเห็นใจผู้อื่นเป็นหลักของ เหยิน “

คุณค่าเหล่านี้ “หมากล้อม”ได้สอนผู้เล่นแล้วอย่างไม่รู้ตัว

“ ฮิคารุ ” แรงบันดาลใจสู่ยอดฝีมือหมากล้อม

             เมื่อ15-20ปีก่อน  ถามว่าหมากล้อมคืออะไร ในหมู่คนไทยคงมีคนรู้จักน้อยแทบนับนิ้วได้ แต่มาวันนี้คนไทยรู้จักหมากล้อมเพิ่มขึ้นมาก  และคงต้องยกประโยชน์นี้ให้กับการ์ตูนเรื่อง Hikaru no Go หรือ ฮิคารุเซียนโกะ

การแข่งขันหมากล้อม BMA Kids Go Tournament 2015

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558 สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยสำนักกิจกรรมสังคม, สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ฝ่ายประถม) ร่วมกันจัดงานแข่งขันหมากล้อมรายการ “BMA Kids Go Tournament 2015” ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมงานแข่งขันกว่า 400 คน

เคล็ดลับ “เจ้าพ่อซีพี” ใช้วิทยายุทธ์ “หมากล้อม” สร้างฐานะเป็นเศรษฐี

ชาวจีนเคยกล่าวไว้ว่า ขุนพลจีนที่เก่งกล้าสามารถ จะต้องมีความรู้ มีความอดทน มีไหวพริบและรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในอดีตกาลประมาณ 3,000 ปีก่อน เกมกีฬาที่ใช้ลับสมองของยอดขุนพลเมืองจีนเมื่อว่างเว้นจากการศึกสงครามดีที่สุดคือ การเล่นโกะหรือหมากล้อม

หมากล้อมจีนสมัยใหม่

พอเข้าถึงสมัยใหม่ หมากล้อมในญี่ปุ่นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หมากล้อมในจีนค่อยๆถูกญี่ปุ่นแซงหน้า สมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย นักหมากล้อมจีนและญี่ปุ่นมีฝีมือที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก  เมื่อได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น  ภายใต้การสนับสนุนของนายพลเฉินอี้ (Chen Yi Marshal)  หมากล้อมก็ได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง บุคคลสำคัญที่มีส่วนมำให้หมากล้อมในจีนกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง ได้แก่ เฉินจู่เต๋อ(Chen Zude) เนี่ยเว่ยผิง(Nie Weiping) หม่าเสี่ยวชุน(Ma Xiaochun) ยวี๋ปิน(YuBin) ฉางเฮ่า(Chang Hao) กู่ลี่(Gu Li) เป็นต้น  เฉินจู่เต๋อ 9 ดั้ง ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยพลิกฟื้นหมากล้อมในจีนกลับมา และได้ร่วมวิจัยสร้างรูปแบบการเปิดหมากแบบสามดาวจีนขึ้นมา  เนี่ยเว่ยผิง 9ดั้ง เป็นเหมือนตัวแทนของหมากล้อมจีนเลย เป็นปรมาจารย์หมากล้อมแห่งยุคสมัย เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ทำให้หมากล้อมในจีนกลับมาบูมอีกครั้งหลังจากที่เขาแข่งศึกลุยไถจีน – ญี่ปุ่น แล้วเก็บชัยชนะ 11 กระดานรวด  ในสมัยนั้น เนี่ยเว่ยผิงถือเป็นวีรบุรุษแห่งแผ่นดินจีนเลยทีเดียว และเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาศึกษาหมากล้อมกันอย่างคลั่งไคล้และทำให้หมากล้อมจีนกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง

หมากล้อมในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง

ในสมัยราชวงศ์หมิง กั้วไป่หลิง(过百龄,Guo Bailing) ยอดฝีมือหมากล้อมแห่งยุคหมิง ได้แต่งตำราหมากล้อมชื่อ “กวานจื่อผู่” (官子谱, Guanzi Pu) เป็นตำราหมากล้อมคลาสสิกอีกเล่มหนึ่ง เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการปิดเกมและรวบรวมหมากเด็ดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้แต่งตำราหมากล้อมอีกสองเล่มสำคัญ ได้แก่ ซานจื่อผู่(三子谱, Sanzi Pu) และซื่อจื่อผู่(四子谱, Sizi Pu)

หมากล้อมในยุคสมัยราชวงศ์ถังซ่งและหยวน

ในสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง หมากล้อมถือเป็นสมัยที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เนื่องจากบรรดาจักรพรรดิต่างชื่นชอบและเหตุผลอื่นๆ หมากล้อมได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ความนิยมเล่นหมากล้อมแผ่ขยายไปทั่วหล้า ในสมัยนี้ หมากล้อมไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงการสงคราม แต่คุณค่าสำคัญคือมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด ให้ความเพลิดเพลินและเพิ่มพูนสติปัญญา  ผู้คนถือว่าการเดินหมากล้อม เล่นดนตรี แต่งบทกวี และการวาดภาพเป็นของที่สูงส่ง กลายมาเป็นเกมการละเล่นของผู้คนทุกเพศทุกวัย

หมากล้อมในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ถัง

สมัยชุนชิวถึงสมัยสองฮั่น หมากล้อมค่อยๆแพร่หลาย

สมัยสามก๊ก หมากล้อมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

สมัยสองจิ้น หมากล้อมปราชญ์ปัญญาชน

สมัยราชวงศ์เหนือและใต้ หมากล้อมเฟื่องฟูอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

สมัยสุยถัง หมากล้อมกับจินตกวี

สมัยอู่ไต้ หมากล้อมในหมู่ผู้คนยากไร้

ต้นกำเนิดหมากล้อม

หมากล้อมมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชื่อภาษาจีนของหมากล้อม คือ เหวยฉี (围棋, Weiqi) คนจีนสมัยโบราณเรียกหมากล้อมว่า “อี้” (弈, Yi)  หมากล้อมถือเป็นหมากระดานที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มหมากกระดานสมัยโบราณทุกชนิด มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปีแล้ว  จากในบันทึก “ซื่อเปิ่น” กล่าวว่า จักรพรรดิเหยา (尧, Yao Emperor, 2357-2255 BC) เป็นผู้คิดค้นหมากล้อมขึ้นมา กล่าวว่ารัชทายาทของจักรพรรดิเหยานามว่าตันจู (丹朱, Danzhu)มีสติปัญญาไม่ฉลาด จักรพรรดิเหยาจึงสร้างหมากล้อมขึ้นมาเพื่อสอนรัชทายาทตันจู